อังคุตตรนิกาย

3.60. สังคารวสูตร

ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ชื่อว่าพราหมณ์ ย่อมบูชา ยัญเองบ้าง ให้คนอื่นบูชาบ้างข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น ผู้ที่บูชายัญเอง และผู้ที่ใช้ให้คนอื่นบูชาทุกคน ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญ อันมียัญเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก อนึ่ง ผู้ใดออกจากสกุลใด บวชเป็นบรรพชิตฝึกแต่คนเดียว ทำตนให้สงบแต่คนเดียว ทำตนให้ดับไปแต่คนเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่ามีปฏิปทาเป็น เหตุให้เกิดบุญอันมีบรรพชาเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระอันเดียว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร พราหมณ์ ถ้ากระนั้นเราจักขอถามท่านในข้อนี้ ท่านจงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ดูกร พราหมณ์ ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึก บุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทรงเบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เราดำเนิน ไปแล้วตามมรรคนี้ ตามปฏิปทานี้ ทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนประชาชนให้รู้ตาม มาเถิด ถึงท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอาการ ที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติได้แล้ว ก็จักทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งของตนแล้ว เข้าถึงอยู่ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ ดังนี้ ทั้งผู้อื่นต่าง ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้น มีมากกว่าร้อย มีมากกว่าพัน มีมากกว่า แสน ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ปุญ ปฏิปทาซึ่งมีบรรพชาเป็นเหตุนั้นย่อมจะมีกำเนิดแต่สรีระเดียว หรือมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก ฯ

สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นดังตรัสมาฉะนี้ ปุญปฏิปทาที่มีบรรพชาเป็น เหตุนี้ ย่อมมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก ฯ

เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารวพราหมณ์ว่า

ดูกรพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอย่างไหนซึ่งมีความต้องการน้อย กว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมายเมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญแม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ถามว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิได้ ถามท่านอย่างนี้ว่าท่าน ควรบูชาใคร หรือว่าท่านควรสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า

ดูกรพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า

มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๒สังคารวพราหมณ์ ก็ได้กล่าวว่า

ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นท่านทั้ง ๒ นี้ เรา ควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกร พราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควร บูชาใคร ท่านควสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่าง นี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่าแต่ว่ามีผล และ อานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่าน พระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ ลำดับ นั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ทรงดำริว่า สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถามปัญหาที่ชอบแล้ว นิ่งเสีย ไม่เฉลยถึง ๓ ครั้งแล ถ้ากระไร เราควรจะช่วยเหลือ จึงได้ ตรัสถามสังคารวพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ วันนี้พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่าอย่างไร

สังคารวพราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัท ในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า เขาว่าเมื่อก่อนภิกษุที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มี น้อยมาก และอุตริมนุษยธรรมมีมากมาย ทุกวันนี้ ภิกษุที่แสดง ปาฏิหาริย์ได้มีมากมาย และ อุตริมนุษยธรรมมีน้อยมาก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ทุกวันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันในราช บริษัทในราชสำนักได้พูดสนทนากันขึ้นใน ระหว่างว่าดังนี้แล ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ เป็นอัศจรรย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ ๑อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็น

อัศจรรย์ ๑ ดูกรพราหมณ์ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไป ในไปอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์

ดูกรพราหมณ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้ พูดดักใจได้โดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิต ของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ว่า ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้น ก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดย นิมิตไม่ได้เลย ก็แตว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้เลย แต่ว่าพอได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้น ก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูกรพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดย นิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ถึงได้ยินเสียง วิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้วก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่า กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจ ของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อ โน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้น ก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูกรพราหมณ์ นี้เรียกว่าอาเทสนาปาฏิหาริย์ ฯ

ดูกรพราหมณ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรม วินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้ มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ดูกรพราหมณ์นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ดูกร

พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล ดูกรพราหมณ์บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านชอบ ปาฏิหาริย์อย่างไหน ซึ่งงามกว่าและประณีตกว่า ฯ

สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้นั้นผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นี้ ได้ แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้นปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้ และเป็น ของผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนกับรูปลวง ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้พูดดักใจได้ยินโดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นเช่นนี้ ใจของท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ จิตของ ท่านเป็นแม้ด้วยประการฉะนี้ ถึงเธอจะพูดดักใจกะชนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็น เช่นนั้นหาเป็นอย่างอื่นไม่ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดย นิมิตไม่ได้เลย … แต่ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้วก็พูดดักใจได้ … แม้ว่า ได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่าได้ยินเสียงวิตกวิจารของ บุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ …ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้า แล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่ากำหนดรู้ใจของผู้อื่นที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตน ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึง หากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ผู้ใดแสดงปาฏิหาริย์นี้ได้ ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้ และเป็นของ ผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับรูปลวงข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่า ได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ควรแก่ข้าพระองค์ ทั้งดีกว่าและประณีตกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีที่ ท่านพระโคดมตรัสดีแล้ว และข้าพระองค์จะจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหม โลกก็ได้ เพราะท่านพระโคดมกำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้สมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของพระองค์ ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น

เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการ อย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านได้กล่าววาจาที่ควรนำไปใกล้เราแน่แท้เทียวแลเออก็เราจัก พยากรณ์แก่ท่านว่า เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหม โลกก็ได้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเรากำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตน ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใดจักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่าจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการ อย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ฯ

สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็แม้ภิกษุอื่นรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ นอกจากท่านพระโคดม มีอยู่หรือ ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อยไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ ใช่ห้าร้อย ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ มีอยู่มากมายทีเดียว ฯ

สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน ฯ

พ. ดูกรพราหมณ์ อยู่ในหมู่ภิกษุนี้เองแหละ ฯ

สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คน มีจักษุจักมองเห็นรูป ฉะนั้นข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้ง พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

จบพราหมณวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชนสูตรที่ ๑ ๒. ชนสูตรที่ ๒ ๓. พราหมณสูตร ๔. ปริพาชกสูตร๕. นิพพุต สูตร ๖. ปโลภสูตร ๗. ชัปปสูตร ๘. ติกรรณสูตร ๙. ชานุสโสณีสูตร ๑๐. สังคารวสูตร ฯ
มหาวรรคที่ ๒