อังคุตตรนิกาย

3.66. สาฬหสูตร

๖๗. สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ใน ปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะหลานชายของมิคารเศรษฐี กับนาย โรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้ชวนกันเข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา … สมณะนี้เป็นครูของ เรา ดูกรสาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรม เหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภมีอยู่หรือ นายสาฬหะและนายโรหนะรับรองว่ามี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อภิชฌาบุคคลผู้โลภมากด้วยความ อยากได้นี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานบุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความ เป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธมี อยู่หรือ ฯ

สา. มี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความพยาบาท บุคคลผู้ดุร้ายมีจิต พยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น อย่างนั้นก็ได้ ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนความหลงมี อยู่หรือ ฯ

สา. มี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา บุคคลผู้หลงตกอยู่ใน อำนาจอวิชชานี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ได้ ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ

สา. เป็นอกุศล ขอรับ ฯ

น. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ

สา. มีโทษ ขอรับ ฯ

น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ

สา. ท่านผู้รู้ติเตียน ขอรับ ฯ

น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ

สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะ ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา … อย่าได้ยึดถือโดยความ นับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล

ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม เหล่านี้เสีย ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรสาฬหะ และโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา … อย่าได้ ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเราเมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรม เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า ถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความ ไม่โลภมีอยู่หรือ ฯ

สา. มี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อนภิชฌาบุคคลผู้ไม่โลภไม่มาก ด้วยความอยากได้นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น อย่างนั้น ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โกรธ มีอยู่หรือ ฯ

สา. มี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความไม่พยาบาทบุคคลผู้ไม่โกรธ มีจิตใจไม่พยาบาทนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น อย่างนั้น ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนความไม่หลง มีอยู่หรือ ฯ

สา. มี ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา บุคคลผู้ไม่หลงถึงความรู้แจ้ง นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ

สา. เป็นกุศล ขอรับ ฯ

น. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ

สา. ไม่มีโทษ ขอรับ ฯ

น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ

สา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ ฯ

น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หรือไม่เล่า ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ

สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ขอรับ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นเช่นนี้ ฯ

น. ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะ ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆ

กันมา อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เขาว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือ โดยนึกเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึด ถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึด ถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์ แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรม เหล่านั้นอยู่ ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกร

สาฬหะและโรหนะ อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้ว อย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงมีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศ ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา … มีใจประกอบด้วย มุทิตา … มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มี เวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ นี้มีอยู่ ธรรมชาติชนิด ทรามมีอยู่ ธรรมชาติชนิดประณีตมีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดสังขารทุกข์เสียได้อย่างสูงมีอยู่ เมื่อ เธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามี โลภะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะเป็นความดี เมื่อก่อนเรามี โทสะ …เมื่อก่อนเรามีโมหะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะนั้น เป็นความดี เธอย่อมเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ดับสนิท เยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็น ประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ