อังคุตตรนิกาย
5.206. ๖. วินิพันธสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจาก ความรัก ยังไม่ปราศจากความระหาย ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด …ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น เครื่องผูกใจข้อที่ ๑ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด … ยังไม่ปราศจากความทะยาน อยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด … ยังไม่ ปราศจากความทะยานอยากใน กาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๒ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด … ยังไม่ปราศจากความทะยาน อยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด …ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากใน รูป จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๓ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุใด ฉันอาหารจนอิ่มตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้นย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น เครื่องผูกพันใจข้อที่ ๔ ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า
เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใด ปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็น เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจ ข้อที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖